การดูแลสุขภาพฟันที่ดีจะช่วยเสริมภาพลักษณ์และคุณภาพชีวิตของคุณ!​

January 30, 2021

การดูแลสุขภาพฟันที่ดีจะช่วยเสริมภาพลักษณ์และคุณภาพชีวิตของคุณ!​

สุขภาพช่องปากไม่ได้จำกัดอยู่แค่ปากเท่านั้น!
ปากทำหน้าที่เป็นประตูเปิดเข้าสู่ร่างกายและบริเวณสำคัญหลายแห่งสำหรับสุขภาพโดยรวม  ถึงแม้ว่าปากจะเต็มไปด้วยแบคทีเรียที่ไม่เป็นอันตราย แบคทีเรียบางตัวก็สามารถก่อให้เกิดโรคได้ เนื่องจากปากเป็นทางเข้าไปสู่ระบบย่อยอาหารและหลอดลม  หลายคนไปทำฟันขาว ซ่อมแซมฟันด้วยการทำวีเนียร์ ใส่ฟันปลอมถาวร หรือพยายามมองหาโปรโมชั่นฟอกสีฟัน หรือพยายามหาว่าควรไปแปะฟันขาวที่ไหนดี แต่สิ่งที่หลายคนลืมไปคือ เราต้องดูแลสุขภาพฟันและเหงือกด้วยวิธีที่เหมาะสมด้วย มิฉะนั้นอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพตามมา เช่น โรคหัวใจและโรคเบาหวาน
ตามปกติแล้ว ร่างกายเรามีกลไกป้องกันแบคทีเรียตามธรรมชาติอยู่แล้ว และการดูแลช่องปากด้วยการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำทุกวันก็จะช่วยควบคุมแบคทีเรียได้  อย่างไรก็ตามหากความสะอาดในช่องปากอยู่ในระดับต่ำ แบคทีเรียจะสะสมมากขึ้นและอาจนำไปสู่การติดเชื้อในช่องปาก เช่น อาการฟันสึกและโรคเหงือก  หากฟันและเหงือกเริ่มเสื่อมสภาพ คุณอาจมีอาการฟันหลุด ฟันติดเชื้อ ฟันผุ และปัญหาอื่น ๆ ได้  หากคุณละเลยและไม่ใส่ใจปัญหาเหล่านี้ คุณจะต้องทนกับปัญหาปวดฟันและเสียฟันไปในที่สุด  ดังนั้นจึงควรป้องกันไว้ก่อน ซึ่งสามารถทำได้โดยการหมั่นรักษาความสะอาดในช่องปากเป็นประจำทุกวัน

โรคสำคัญที่เชื่อมโยงกับสุขภาพช่องปาก
โรคติดเชื้อที่เยื่อบุหัวใจ: แบคทีเรียและเชื้อโรคอื่น ๆ ในช่องปากสามารถแพร่กระจายผ่านกระแสเลือด และบางครั้งจะเข้าไปติดอยู่ในบริเวณต่าง ๆ อย่างเช่นบริเวณหัวใจ ซึ่งก่อให้เกิดการติดเชื้อของเยื่อบุด้านในห้องหัวใจ หรือผนังของหัวใจได้

โรคหัวใจและหลอดเลือด: งานวิจัยหลายชิ้นเผยให้เห็นว่าโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน และโรคหลอดเลือดสมองอาจเกี่ยวข้องกับการอักเสบและติดเชื้ออันมีสาเหตุมาจากแบคทีเรีย

ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์และการคลอด: การคลอดก่อนกำหนดและทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติมีความเกี่ยวข้องกับโรคเยื่อหุ้มฟันอักเสบ

โรคปอดอักเสบ: แบคทีเรียบางประเภทจากปากสามารถแพร่กระจายเข้าไปในปอดและทำให้เกิดโรคปอดอักเสบและโรคทางเดินหายใจอื่น ๆ

โรคเบาหวาน: หากภูมิคุ้นกันการติดเชื้อของร่างกายเริ่มลดลง โรคเบาหวานจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อเหงือก  นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่จึงเป็นโรคเหงือก ซึ่งในบางรายก็เป็นโรคเหงือกขั้นรุนแรง

โรคเอดส์/HIV: ปัญหาในช่องปากต่าง ๆ เช่น โรคความผิดปกติในช่องปาก มักพบได้ในผู้ป่วยโรคเอดส์ หรือ HIV

ภาวะกระดูกพรุน: โรคกระดูกพรุนมีความเชื่อมโยงกับการสูญเสียกระดูกในปริทันต์และฟัน  นอกจากนี้ ยาบางตัวที่ใช้รักษาโรคกระดูกพรุนมีความเสี่ยงระดับต่ำในการทำลายกระดูกขากรรไกรด้วย

โรคอัลไซเมอร์: สุขภาพช่องปากที่แย่ลงมักพบได้ในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่มีอาการมากขึ้นนอกจากนี้ยังก่อให้เกิดภาวะอื่น ๆ เช่น ภาวะการกินผิดปกติ มะเร็งบางประเภท โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และโรคระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติที่อาจทำให้เกิดความแห้งในช่องปาก (กลุ่มอาการโจเกรน)

วิธีการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสม
วิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับการป้องกันปัญหาเหงือกและฟันคือ การแปรงฟันและการใช้ไหมขัดฟันอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการไปพบทันตแพทย์ ทันตาภิบาล ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคปริทันต์ ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดฟันและขากรรไกร หรือศัลยแพทย์ช่องปากตามนัดอยู่เสมอ  โปรดพึงระลึกไว้เสมอว่า การสึกกร่อนของฟันในขั้นต้นนั้นสามารถรักษาได้ง่ายกว่ากรณีที่มีอาการรุนแรง!  เทคโนโลยีสมัยใหม่สามารถรักษาการสึกกร่อนของฟันได้ ซึ่งอาจทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัวเล็กน้อย โดยเฉพาะในช่วงแรก ๆ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถใช้ยาแก้ปวดลดอาการปวดได้    

Sources
https://www.towncaredental.com/the-importance-of-good-oral-health/
https://www.marshfieldclinic.org/specialties/dental-care/dental-why-important https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/in-depth/dental/art-20047475  

B03-hollywoodcnx_com-HMKK

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ